ฟันคุด จำเป็นต้องเอาออกไหม?
ฟันคุด จำเป็นต้องเอาออกไหม?
เรามีฟันทั้งหมด 32 ซี่ มีองค์ประกอบที่สำคัญและซับซ้อน ประกอบด้วย เคลือบฟัน เนื้อฟัน โพลงในตัวฟัน เคลือบรากฟัน เอ็นปริทันต์ ฟันของเราทำหน้าที่อย่างดีมาตลอดชีวิต ไม่ว่าจะกับมื้ออาหาร และการสนทนาที่นับไม่ถ้วน อย่างไรก็ตาม ฟันไม่สามารถอยู่อย่างยืนยาวได้หากเราไม่มีการดูแลที่ดี และมีหลายปัจจัยที่สามารถนำไปสู่การสูญเสียฟัน การตรวจสุขภาพฟันจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นประจำจะช่วยยืดอายุและให้ฟันทำหน้าที่ของมันได้นานขึ้น
ฟันคุด คืออะไร?
ฟันคุด (Impacted Tooth, Wisdom Tooth) คือ ฟันกรามซี่สุดท้าย หรือฟันกราม ซี่ที่ 3 ซึ่งปกติจะขึ้นในช่วงวัยรุ่นตอนปลายจนถึงช่วงอายุ 20 ปีต้นๆ หรือบางคนโชคดีไม่มีฟันคุด โดยปกติคนส่วนใหญ่มีฟันคุดทั้งหมด 4 ซี่ ด้านบนซ้าย บนขวา ล่างซ้าย และล่างขวา ซี่ในสุด บางคนก็โผล่ขึ้นมาจนเต็มซี่ เหมือนฟันกรามซี่อื่น แต่บางคนอยู่ใต้เหงือกไม่โผล่ขึ้นมา โดยส่วนมาจะเป็นกับฟันคุดล่าง ซึ่งจะต้องผ่าออก แต่ถ้าโผล่ขึ้นมาเต็มซี่แล้วก็จะเป็นเพียงแค่การถอนออก
การถอนฟันคุดกับการผ่าฟันคุด
ต่างกันอย่างไร?
ฟันคุดอาจทำให้เหงือกอักเสบหรือติดเชื้อได้ ซึ่งเป็นที่มาของอาการปวดฟันคุด กรณีขากรรไกรมีพื้นที่ไม่พอให้ฟันคุดขึ้นได้ตามปกติ หรือฟันคุดขึ้นในตำแหน่งและมุมที่ไปชนกับฟันซี่อื่น นอกจากนี้ ฟันคุดยังทำความสะอาดได้ยากจึงแนะนำให้ผ่าหรือถอนฟันคุดออก ถึงแม้จะไม่มีอาการปวดฟันคุดก็ตาม ซึ่งจะมีความแตกต่างกันออกไป
สาเหตุของการเกิดฟันคุด
- สาเหตุของการเกิดฟันคุดชนิดนี้ เกิดจากเหงือกบางคนหนามากจนเกินไป หรือมีส่วนของกระดูกขวางการขึ้น จึงทำให้ฟันขึ้นไม่ได้หรือมีการขึ้นในทิศทางไม่ปกติ
- สาเหตุของฟันคุดเกิดจากการขึ้นพ้นเหงือกได้ตามปกติ แต่อาจจะมีแนวการขึ้นที่ไม่ตรง จนทำให้ส่วนของฟันไปชนเข้ากับฟันซี่อื่นๆ ก็เป็นสาเหตุของการเกิดฟันคุดได้
- เมื่อถึงเวลาที่ฟันคุดจะต้องขึ้น แต่เกิดพบว่าพื้นที่ในช่องปากไม่พอ จึงทำให้ฟันคุดไม่สามารถโผล่พ้นเหงือกขึ้นมาได้
ฟันคุดแบบไหนควรผ่าออก?
ฟันคุดหากมีการขึ้นตรงตามแนวฟันปกติ แต่ถ้าหากฟันคุดขึ้นผิดทิศทางตามสาเหตุที่ได้กล่าวไปนั้น ทีนี้ก็ต้องติดตามอาการอื่นๆ ตามมา หากพบว่ามีอาการดังด้านล่างนี้ อาจถึงเวลาที่จะต้องผ่าตัดเอาฟันคุดออก โดยมีวิธีการสังเกตดังนี้
- อาการปวดฟันบริเวณกรามด้านในสุดอยู่ในตำแหน่งของฟันคุด
- มีเหงือกบวมแดง อาจจะเกิดเป็นแผล หรือเป็นหนอง บางรายมีอาการเฉพาะในช่องปาก กรณีที่มีการบวมมากอาจสังเกตได้ที่บริเวณใบหน้าร่วมด้วย
- ลักษณะของฟันคุดมีการเรียงตัวของฟันผิดปกติ จะเห็นฟันที่ขึ้นซ้อนกันหรือเบียดกัน ซึ่งฟันที่อยู่ใกล้เคียงอาจจะเกิดการโยกหรือผุ รวมถึงเห็นฟันที่ยื่นออกมาจากแนวฟันเดิม
- สำหรับบางคนก็อาจเกิดอาการปวดศีรษะร่วมด้วย รวมไปถึงเมื่ออ้าปากแล้วก็จะมีอาการเจ็บปวด อ้าปากได้น้อยกว่าปกติ ในรายที่เป็นมากอาจส่งผลต่อการกลืนและการหายใจ
ถ้าหากพบอาการดังกล่าวแนะนำว่าให้รีบเข้ารับการปรึกษากับทางทันตแพทย์จะเป็นการดีที่สุด หากมีอาการเจ็บปวดต่างๆ ในช่องปากที่ไม่สามารถระบุได้ว่าเกิดจากอะไร ขอแนะนำให้เข้าไปรับการตรวจและเอกซเรย์ เพื่อให้มั่นใจว่าฟันคุดนั้นยังไม่สร้างปัญหาให้กับเราได้ในอนาคต
ทำไมต้องเอาฟันคุดออก?
- ช่วยป้องกันปัญหาฟันผุ การผ่าฟันคุดจะเป็นตัวช่วยป้องกันปัญหาฟันผุได้เป็นอย่างดี เนื่องจากการขึ้นของฟันคุดจะมีการขึ้นบริเวณที่ติดกับซอกฟันกราม ซึ่งเป็นจุดที่สามารถทำความสะอาดได้ยากมากๆ มีโอกาสสูงที่จะทำให้เศษอาหารเข้าไปติดจนทำให้เกิดฟันผุได้ ซึ่งมักจะเกิดฟันผุกับฟันซี่ฟันคุดและฟันข้างเคียง
- ช่วยป้องกันปัญหาการอักเสบของเหงือก การมีฟันคุดจะทำให้ทำความสะอาดได้ไม่ทั่วถึง มีเศษอาหารติดค้างจนทำให้เป็นแหล่งสะสมของคราบแบคทีเรีย เกิดการบวมถึงขั้นเป็นหนอง จนทำให้เกิดการอักเสบของเหงือกได้ การผ่าฟันคุดออกจึงเป็นการป้องกันการอักเสบของเหงือกได้ดี ซึ่งช่วยลดปัญหาต่างๆ ที่จะตามมาภายหลัง
- ช่วยป้องกันปัญหาฟันซ้อนเก การผ่าฟันคุด จะช่วยป้องกันปัญหาฟันซ้อน ฟันเกได้เป็นอย่างดี เพราะฟันคุดพยายามดันขึ้นมา จนส่งผลทำให้ฟันที่อยู่ข้างเคียงเคลื่อนผิดตำแหน่ง รวมไปถึงรากฟันข้างเคียงถูกทำลาย
- ป้องกันปัญหาการเกิดถุงน้ำ รวมไปถึงเนื้องอก การผ่าฟันคุดจะช่วยป้องกันการเกิดปัญหาถุงน้ำหรือเนื้องอกได้ ถ้าหากมีการขยายของเนื้อเยื่อที่อยู่บริเวณรอบๆ ของฟันคุด จนทำให้เกิดเป็นถุงน้ำ ผลร้ายที่ตามมาก็คือ ถุงน้ำจะเข้ามาทำลายฟันที่อยู่บริเวณใกล้เคียง รวมไปถึงทำลายกระดูกบริเวณรอบๆ ซึ่งอาจจะรวมไปถึงการเกิดปัญหาเนื้องอกได้ด้วยเช่นเดียวกัน
- กรณีจัดฟัน ช่วยทำให้ฟันเคลื่อนตำแหน่งได้ง่าย สำหรับกรณีจัดฟัน การนำเอาฟันคุดออกจะเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยสำหรับการเตรียมตัวจัดฟัน ซึ่งสำหรับการถอนฟันกรามซี่ที่ 3 ออกไป จะเป็นตัวที่ช่วยทำให้ฟันซี่อื่นๆ สามารถเคลื่อนตัวได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกรณีที่ต้องการถอยฟันทุกซี่ในช่องปากไปด้านในร่วมกับการใช้หมุดจัดฟัน การที่ไม่มีฟันคุดทำให้มีเนื้อที่ว่างของกระดูกเพียงพอที่จะใช้เคลื่อนฟัน
หากมีอาการปวดฟันคุด ทำอย่างไร?
อาการปวดฟันคุดไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน เพราะฟันคุดของบางคนอาจไม่ส่งผลเสียต่อช่องปาก เนื่องจากเป็นฟันคุดที่ขึ้นมาพ้นเหงือก มีความแข็งแรง ไม่ล้มหรือเอนไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง สามารถพบฟันและทำความสะอาดได้เหมือนฟันปกติ แต่สำหรับคนส่วนใหญ่ที่มีฟันคุดขึ้นไม่ตรงตามธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นผิดตำแหน่ง จนเอียงไปชนฟันซี่ข้างๆ หรือโผล่ขึ้นมาเหนือเหงือกเพียงบางส่วน ก็ส่งผลให้เกิดอาการปวดจากแรงกดทับ อีกทั้งเป็นแหล่งสะสมของเศษอาหารได้ง่าย หากปล่อยทิ้งไว้นานๆ นอกจากจะรู้สึกปวดแล้วยังทำให้เป็นโรคเหงือกอักเสบและฟันผุตามมาได้ด้วย
วิธีบรรเทา อาการปวดฟันคุด
- ทำความสะอาดช่องปาก หากพบเศษอาหารติดบริเวณฟันคุดให้ใช้แปรงสีฟันและไหมขัดฟันแปรงบริเวณฟันคุดจนกว่าเศษอาหารจะหลุดออกมา โดยอาจกลั้วปากด้วยน้ำอุ่นเพื่อให้เศษอาหารหลุดง่ายขึ้น
- บ้วนปากด้วยเกลือ เตรียมน้ำอุ่น 1 แก้ว ผสมเกลือป่น 1 ช้อนชา คนให้เข้ากัน จากนั้นกลั้วน้ำที่ผสมประมาณ 30-60 วินาที แล้วบ้วนทิ้ง ทำซ้ำๆ จนกว่าจะรู้สึกปวดน้อยลง
- ทานยาแก้ปวด โดยยาที่แนะนำจะเป็นยาในกลุ่มบรรเทาอาการปวดแบ่งเป็นไอบูโพรเฟน และพาราเซตามอล หากใครมีอาการแพ้ยาตัวใด ให้เข้ามาปรึกษาทันตแพทย์หรือเภสัชเพื่อจ่ายยาก่อนได้
- ประคบบริเวณที่ปวด นำน้ำแข็งก้อนใหญ่ละลายยากห่อด้วยผ้าบาง แล้วนำมาประคบกรามข้างที่ปวดเป็นเวลา 10-15 นาที จากนั้นหยุดพักและประคบต่อจนกว่าจะหายปวด หรืออาจใช้ถุงชาสมุนไพรที่แช่น้ำร้อนแล้วบีบน้ำออก จากนั้นประคบบริเวณที่ปวดหรือกัดถุงเบาๆ เอาไว้ในปากจนกว่าจะหายปวด
แน่นอนเลยว่าการผ่าฟันคุดออก จะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพช่องปากของทุกคนได้หลายอย่างด้วยกันดังที่กล่าวไปในเบื้องต้น หากใครที่กำลังประสบปัญหาฟันคุดอยู่ ขอแนะนำให้ผ่าออกจะดีกว่าการปล่อยทิ้งไว้ ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหามากมายในภายหลัง
การดูแลหลังผ่าฟันคุด?
วิธีการดูแลรักษาตนเองให้เหมาะสมหลังจากผ่าฟันคุด จะต้องมีวิธีการดูแลตนเองอย่างไรบ้างมาดูพร้อมกัน
- หลังจากผ่าฟันคุดหรือถอนฟันคุดเสร็จ กัดผ่าก๊อซไว้แน่นๆ 1 ชม. ไม่บ้วน ไม่อม เพื่อเลือดหยุดไหล
- หลังจาก 1 ชม. ให้นำผ้าก๊อซออก ทานอาหาร ทานยา ให้เรียบร้อย แล้วกัดผ้าก๊อซต่ออีกสัก 1 ชม. สังเกตุอาการว่าเลือดหยุดไหลหรือยัง ถ้ายังให้เปลี่ยนผ้าก๊อซแล่วกัดต่อ แต่ถ้าเลือดหยุดไหลแล้วก็ไม่ต้องกัดผ้าก๊อซต่อ
- ใช้น้ำแข็งประคบเย็นบริเวณแก้มใน 24 ชม.แรก เพื่อที่จะช่วยลดอาการบวมที่อาจจะเกิดขึ้นได้ แต่ห้ามอมน้ำแข็งไว้ในปาก ภายหลังจาก 24 ชั่วโมงไปแล้ว สามารถประคบอุ่นได้ เพื่อช่วยลดอาการบวม
- ควรรับประทานยาตามคำแนะนำของทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของทันตแทพย์อย่างเคร่งครัด
- สามารถทำความสะอาดช่องปากด้วยแปรงสีฟันได้ตามปกติเลย แต่จะต้องระมัดระวังเป็นอย่างมากเพื่อที่จะไม่ให้โดนแผล
- หลังจากวันแรกที่ได้มีการผ่าฟันคุด จะต้องงดการบ้วนปากแรงๆ แต่หลังจากนั้นสามารถใช้น้ำอุ่นผสมเกลือ หรือน้ำยาบ้วนปากบ้วนแบบเบาๆ ได้ หลังมื้ออาหารหรือหลังการแปรงฟัน
- ควรหลีกเลี่ยงเกี่ยวกับพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสบาดแผล อาทิ ใช้ลิ้นดุนฟัน ไม้จิ้มฟัน เป็นต้น
- ควรสังเกตอาการหลังผ่าตัด หากพบว่ามีอาการผิดปกติ แผลบวมแดง จะต้องรีบไปปรึกษาแพทย์ทันที
- แพทย์จะมีการนัดหลังจากผ่าฟันคุด 7 วันเพื่อไปทำการตัดไหม
- บริเวณแผลฟันคุด 1 – 2 อาทิตย์แรก หากพบลักษณะเนื้อขาวๆ หรือเหลืองเล็กน้อย อาจเป็นเนื้อเหงือกที่สร้างขึ้นมาใหม่ ซึ่งเป็นปกติและจะไม่มีอาการใดๆ กรณีที่มีอาการปวดหรือมีของเหลวเหลืองขุ่นคล้ายหนอง ต้องทำการพบทันตแพทย์ทันที
หลังจากผ่าฟันคุด ห้ามทานหรือดื่มอะไรบ้าง?
- ห้ามรับประทานอาหารที่มีรสชาติ เผ็ดจัด ร้อนจัด
- ห้ามรับประทานอาหารที่มีความแข็ง เนื่องจากอาหารที่มีความแข็งอาจจะส่งผลกระทบต่อแผลผ่าตัด รวมไปถึงส่งผลกระทบต่อฟัน
- ห้ามดื่มแอลกอฮอร์ ห้ามสูบบุหรี่ ยิ่งในช่วง 3 วันแรกสำคัญมากๆ เพราะจะเป็นสิ่งที่เข้าไปขัดขวางการหายของแผล แล้วจะส่งผลทำให้มีเลือดออกจากแผลมากยิ่งขึ้น
คำถามถามที่พบบ่อย
Q : ต้องปวดฟันคุดแค่ไหนถึงจะต้องไปพบทันตแพทย์ ?
A : เมื่อปวดฟันคุณควรไปพบคุณหมอทุกกรณี ไม่ควรปล่อยไว้เป็นเวลานาน.
Q : ปวดฟันคุดไม่ต้องไปหาหมอได้ไหม หายเองได้ไหม ?
A : อาการปวดฟันจะหายไปเมื่อสาเหตุที่แท้จริงถูกกำจัดออกไป เช่นการปวดหรือเสียวฟันจะหายไปทันทีที่คุณรับประทานอาหารที่เย็นหรือหวานมากๆ เสร็จ ในทำนองเดียวกัน หากมีเศษอาหารมาติดอยู่ในระหว่างซี่ฟันของคุณ อาการปวดจะหายไปทันทีเมื่อคุณกำจัดเศษอาหารออก นอกจากนี้อาการปวดฟันที่เกิดจากการอักเสบติดเชื้ออาจดีขึ้นหลังจากได้รับประทานยาแก้ปวด ถึงอย่างไรก็ควรมาพบคุณหมอ หากมีสิ่งผิดปกติ.
Q : ฟันคุดจำเป็นต้องเอาออกไหม?
A : แน่นอนเลยว่าการผ่าฟันคุดออก จะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพช่องปากของทุกคนได้หลายอย่างด้วยกันดังที่กล่าวไปในเบื้องต้น หากใครที่กำลังประสบปัญหาฟันคุดอยู่ ขอแนะนำให้ผ่าออกจะดีกว่าการปล่อยทิ้งไว้ ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหามากมายในภายหลัง
ปัญหาฟันคุด คือฟันที่ไม่สามารถที่จะขึ้นมาได้ตามปกติ โดยเป็นปัญหาช่องปากที่เรียกได้ว่าสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็จะสร้างปัญหาความเจ็บปวด รวมไปถึงผลกระทบอื่นๆ ได้ ตั้งแต่การสะสมคราบแบคทีเรีย จนกระทั่งทำให้เหงือกบวม ซึ่งหากปล่อยไว้ก็อาจจะเกิดปัญหาเรื้อรังต่างๆ ตามมา ดังนั้นหากเกิดอาการที่บ่งบอกถึงการเกิดฟันคุด ควรรีบพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการรักษา การผ่าฟันคุดออกจะเป็นการดีที่สุด
ควรไปพบทันตแพทย์เป็นประจำตามกำหนด หรือทุก ๆ 6 เดือน นัดตรวจฟันกับคุณหมอใจดี ที่นี่