3D

เครื่องเอกซเรย์ช่องปากระบบ 3 มิติ ( 3D Dental X-RAY )

เครื่องเอกซเรย์ช่องปากระบบ 3 มิติ ( 3D Dental X-RAY )

เทคโนโลยีเครื่องเอกซเรย์ช่องปากระบบ 3 มิติช่วยให้ทันตแพทย์ได้ภาพเอกซเรย์ของฟันที่เห็นรายละเอียดชัดเจน ด้วยระบบการสแกนแบบพาโรนามา 360 องศา เพียงสแกนครั้งเดียวก็จะได้ออกมาเป็นภาพที่ต้องการและเพียงพอสำหรับทันตแพทย์แล้ว ซึ่งผลลัพธ์ออกมาจะเป็นภาพที่มีความละเอียดสูง สามารถนำภาพไปวินิจฉัย และประเมินสภาวะทางสุขภาพของช่องปากคุณได้ดีขึ้น ซึ่งส่งผลให้การรักษาดีขึ้นตามไปด้วย

เอกซเรย์ระบบภาพ 3 มิติ หรือDental CBCT คือ การถ่ายภาพเอกซเรย์ระบบ 3 มิติ บริเวณฟัน ขากรรไกร และกะโหลกศีรษะ ได้ชัดเจนและละเอียดกว่า ระบบ 2 มิติ และใช้ปริมาณรังสีที่น้อยกว่ามาก
ระบบ 2 มิติจะเห็นเพียงด้านหน้า หรืออาจเห็นเป็นแค่เงาฟันที่บังกัน ในขณะที่ระบบ 3 มิติ จะบอกได้ชัดเจนเลยว่า ลักษณะฟันเป็นอย่างไร แต่ละซี่ใกล้หรือไกลกัน หรือสามารถเห็นกระดูกที่เหลืออยู่ว่ามากน้อยเพียงใดก่อนการฝังรากฟันเทียม

เอ็กซเรย์ฟัน คือ

การใช้รังสี X-ray ถ่ายภาพช่องปาก ฟัน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่จำเป็นในการวางแผนดูแลสุขภาพช่องปากอย่างเหมาะสม เนื่องจากจะทำให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับฟันของคนไข้โดยละเอียด มากกว่าการมองเห็นจากตาเปล่าเพียงอย่างเดียว

จุดประสงค์ของการ X-ray ฟันก็เพื่อดูแลรักษาสุขภาพช่องปากเพื่อป้องกันโรค เพราะช่วยให้ทันตแพทย์มองเห็นปัญหาที่เกิดกับฟันได้อย่างชัดเจน เช่น ความเสียหายของกระดูก ฟันผุ ฟันบาดเจ็บ ที่สำคัญการ X-ray ฟันยังเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ต่อการวางแผนการรักษาเป็นอย่างมาก

การเอ็กซ์เรย์ฟันเพื่อการรักษามีกี่รูปแบบ

การ X-ray ฟันมีหลายรูปแบบด้วยกัน ซึ่งทันตแพทย์จะเลือกโดยพิจารณาจากประเภทการรักษาของผู้ป่วย

1.การเอ็กซเรย์ฟันเพื่อถอนหรือผ่าฟันคุด

การเอ็กซเรย์ฟันเพื่อถอนหรือผ่าฟันคุด เพื่อศึกษารายละเอียดของฟัน เช่น ความโค้งงอของรากฟัน ขนาดของรอยผุที่ส่งผลให้ฟันแตกหักง่ายระหว่างถอน ลักษณะและตำแหน่งของฟันคุดว่าใกล้กับกายวิภาคที่สำคัญหรือไม่ และภาพรังสียังใช้ในการติดตามผลการถอนฟันในกรณีที่เกิดปัญหา หรือภาวะแทรกซ้อนหลังถอนฟัน

ฟันคุด
______________________________________________________________________________________
Screenshot 2023-07-13 190335

2.การเอ็กซเรย์ฟันเพื่อรักษารากฟัน

โดยทันตแพทย์ผู้ทำการรักษาจะนำภาพรังสีไปใช้ประเมินว่าฟันซี่นั้นสมควรได้รับการรักษาคลองรากฟันหรือไม่ และนำไปวางแผนการรักษาฟันซี่นั้นด้วย ซึ่งในขั้นตอนการรักษาคลองรากฟัน คนไข้จะได้รับการเอ็กซเรย์ฟันซี่เดิมหลายครั้ง เช่น ขั้นตอนการประเมินความยาวรากฟัน การลองแท่งวัสดุสำหรับการอุดคลองรากฟัน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ต้องให้ความละเอียดแม่นยำ รวมถึงการทำรากเทียม

______________________________________________________________________________________

3.การเอ็กซเรย์ฟันเพื่อจัดฟัน

การเอ็กซเรย์ฟันเพื่อจัดฟัน งานทันตกรรมจัดฟันนั้น ต้องรวบรวมข้อมูลทั้งจากการตรวจภายในช่องปาก และภายนอกช่องปากแบบจำลองฟัน และภาพรังสีเพื่อประกอบการวินิจฉัย และวางแผนการรักษา โดยภาพรังสีจะสามารถบอกลักษณะของฟัน กระดูกขากรรไกร กะโหลกศรีษะและใบหน้า ที่จะนำมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของส่วนต่าง ๆ ได้อย่างละเอียด

Screenshot 2023-07-13 191402
______________________________________________________________________________________
BW

4.การเอ็กซเรย์ฟันเพื่อดูฟันผุ

การเอ็กซเรย์ฟันเพื่อดูฟันผุ รอยผุบริเวณด้านประชิดนั้นตรวจพบได้ยากโดยเฉพาะรอยผุที่มีขนาดเล็กหรือรอยผุซ้ำใต้ขอบวัสดุ ภาพรังสีกัดปีกจึงมีประโยชน์และเป็นวิธีที่เหมาะสมในการตรวจหารอยผุด้านประชิดควบคู่ไปกับการตรวจในช่องปากนอกจากนี้ภาพรังสีกัดปีกยังช่วยประเมินสุขอนามัยช่องปากของผู้ป่วยอีกด้วย

______________________________________________________________________________________

5.การเอ็กซเรย์ฟันเพื่อการรักษาโรคปริทันต์อักเสบ

การเอ็กซเรย์ฟันเพื่อการรักษาโรคปริทันต์อักเสบ โรคปริทันต์อักเสบนั้นเกิดได้ทั้งในวัยรุ่น ผู้ใหญ่ หรือผู้สูงวัย ซึ่งมีสาเหตุจากคราบจุลินทรีย์ที่เกาะบริเวณรอบตัวฟันระยะแรกจะส่งผลให้เหงือกอักเสบ สังเกตได้จากการมีเลือดออกขณะแปรงฟัน หรือเหงือกบวมแดงเป็นต้น ซึ่งในระยะแรกนี้จะยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงในภาพรังสี เมื่อโรคลุกลามมากขึ้นจนกลายเป็นโรคปริทันต์อักเสบ จะพบร่องลึกปริทันต์และการละลายของกระดูกที่หุ้มรอบรากฟัน ซึ่งจะปรากฏในภาพรังสี ภาพรังสีจึงมีประโยชน์ในการประเมินความรุนแรงของโรคและบอกการทำลายกระดูกในลักษณะต่างๆ รวมถึงระดับของกระดูกที่หุ้มรอบรากฟัน และใช้ในการติดตามผลการรักษา

เหงือกอักเสบ

คำถามที่พบบ่อย

Q : รังสีที่เอกซเรย์ฟันอันตรายไหม?
A : การเอกซเรย์ฟันจะอยู่ในระดับที่ต่ำมาก และปลอดภัยต่อสุขภาพของทั้งเด็กและผู้ใหญ่
Q : ควรเอกซเรย์ฟันบ่อยแค่ไหน?
A : การเอกซเรย์ฟันทุกๆ 6-18 เดือน ก็เพียงพอต่อการตรวจดูความคืบหน้าของสุขภาพฟันแล้ว สำหรับคนที่ไม่ได้มีปัญหาอะไรเยอะ
Q : เอกซเรย์ฟันนานไหม?
A : ใช้เวลาไม่เกิน 5-10 นาที ขึ้นอยู่กับจำนวนฟิล์มเอกซเรย์