“ฟันแตก” อันตรายไหม!?
“ฟันแตก” อันตรายไหม!?
ปัญหาบางอย่างเกี่ยวกับฟัน เช่น ฟันถูกกระแทกหรือตัวฟันแตก สังเกตได้ง่าย คุณอาจจะคิดว่าปัญหาอย่างฟันแตกก็สังเกตเห็นได้ง่ายเหมือนกัน แต่ความจริงก็คือ หลายคนอาจจะสังเกตปัญญาหาฟันแบบนี้ไม่ออก ดังนั้น เพื่อให้คุณสามารถสังเกตเห็นฟันแตกได้ดีขึ้น เรามาลองดูสาเหตุและอาการที่พบบ่อย ๆ เมื่อฟันแตกกัน
หลายๆ คนคงรู้อยู่แล้วว่า ฟันเป็นกระดูกที่แข็งแรงที่สุด ซึ่งหน้าที่หลักของฟันก็คือ การบดเคี้ยวอาหาร ใช้ในการออกเสียง และถ้าฟันยิ่งสวย ยิ่งช่วยเสริมบุคลิกภาพให้เราอีกด้วย แล้วถ้าฟันสวยๆ ของเราเกิด หัก หรือ แตก ขึ้นมาล่ะ เราจะทำยังไงดี?
ฟันแตก อันตรายไหม?
ฟันแตกอันตรายไหม? คำตอบคือ “มีโอกาสอันตรายได้หากปล่อยไว้นาน” เพราะฟันแตกในช่วงแรก ๆ จะยังไม่ได้มีความเสียหายที่กระทบไปจนถึงเนื้อฟันและรากฟัน โดยแรกเริ่มจะมีความรู้สึกปวดจี๊ด และเสียวฟันทุกครั้งที่เคี้ยวอาหาร หรือสัมผัสกับอุณหภูมิที่เย็นจัดหรือร้อนจัด ซึ่งนั่นถือเป็นสัญญาณเริ่มต้นที่บ่งบอกว่าฟันของคุณกำลังมีปัญหา
ฟันแตก มีลักษณะอย่างไร?
ฟันแตก คือการที่มีชิ้นส่วนบางชิ้นของฟันบิ่นหรือแตกออกมาจากตัวฟัน โดยอาจแตกมาเป็นรู มีลักษณะแหลมผิดรูป หรือ เกิดรอยแยกบนฟัน สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ฟันหน้าจนไปถึงฟันกราม ซึ่งหากปล่อยไว้ไม่ทำการบูรณะ อาจทำให้เกิดอาการเสียวฟัน หรือฟันผุจนไปถึงโพรงประสาท ทำให้อาจต้องเสียฟันไปในที่สุด
ฟันแตก เกิดจากสาเหตุอะไร?
ฟันแตกสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดย 5 เหตุผลหลักๆ
- อุบัติเหตุต่่างๆ ที่ทำให้ฟันได้รับการกระแทกอย่างรุนแรง เช่น หกล้ม เป็นต้น
- การเคี้ยวของแข็ง เช่น ถั่ว น้ำแข็ง ลูกอม
- ฟันที่ผุมากจนทำให้เนื้อฟันเปราะบาง
- พฤติกรรมการนอนกัดฟัน ชอบกัดแทะสิ่งต่างๆ ทำให้ฟันได้รับการกระทบกระเทือนบ่อยๆ จนอาจทำให้ฟันแตกหักได้
- การไม่หมั่นดูแลทำความสะอาดฟัน ทำให้เกิดการสะสมของคราบพลัค อันนำไปสู่การกัดกร่อนเนื้อฟัน ทำให้ฟันเปราะบางและเสี่ยงในการแตกหักง่าย
อาการของฟันแตก?
อาการต่างๆ จะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับว่าฟันได้แตกไปมากน้อยขนาดไหน โดยอาการคร่าวๆ มีดังนี้
- มองเห็นเนื้อฟันที่แตก หรือ สามารถสัมผัสถึงพื้นผิวฟันที่ดูผิดธรมมชาติ
- มีอาการปวดหน่วงๆ หรือ ปวดร้าวเมือถูกใช้งานหรือเมื่อได้มีการสัมผัสกับอาหารหรือเครื่องดื่มร้อนหรือเย็น
- มีอาการเสียวฟันเมื่อได้มีการสัมผัสกับอาหารหรือเครื่องดื่มร้อนหรือเย็น
- ตัวฟันมีพื้นผิวที่แหลมจนอาจบาดลิ้นหรือกระพุ้งแก้ม
- มีอาการบวมที่เหงือกหรือฟันโดยรอบ
อาการแบบไหนควรรีบพบทันตแพทย์?
- แตกเป็นรู ฟันแตกที่เป็นรู อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การกัดของแข็ง วัสดุอุดฟันที่หลุด หรือ ฟันผุ
- แตกครึ่ง จะมีลักษณะที่ฟันแตกร้าวจากพื้นผิวฟันด้านนอก ยาวไปถึงรากฟัน ทำให้ฟันแตกเป็น 2 ส่วน (Split Tooth) โดยส่วนมาก จะมีอาการปวดและเสียวฟันร่วมด้วย
- แตกแนวดิ่งจากราก ลักษณะที่ฟันแตกจากรากขึ้นไปยังพื้นผิวฟันด้านบน โดยส่วนใหญ่คนไข้จะยังไม่มีอาการจนกว่ากระดูกและเหงือกโดยรอบจะอักเสบและเกิดการติดเชื้อ
ฟันแตก รักษาอย่างไร?
ขึ้นอยู่กับลักษณะและการแตกของฟัน ทันตแพทย์จะเลือกวิธีรักษาที่เหมาะสม ดังต่อไปนี้:
- อุดฟัน: สำหรับฟันที่แตกไม่มาก แพทย์จะเลือกทำการอุดฟันด้วยวัสดุเรซิ่นสีเดียวกับฟัน เพื่อเสริมความแข็งแรงไม่ให้ฟันแตกไปมากกว่าเดิม
- แปะวีเนียร์: สำหรับฟันที่แตกค่อนข้างเยอะ แพทย์อาจเลือกทำการแปะวีเนียร์ ซึ่งจะช่วยปิดรอยแตกได้เป็นอย่างดีรวมไปถึงเสริมความแข็งแกร่งให้กับเนื้อฟันที่เหลือ ซึ่งวีเนียร์ คือ การใช้ที่เคลือบฟันเทียมมาแปะบนผิวฟัน โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ตามวัสดุที่ใช้ ได้แก่ วีเนียร์คอมโพสิตและเซรามิก
- การครอบฟัน: ในกรณที่ฟันแตกหรือหักเป็นวงกว้างจนเนื้อฟันเหลือน้อย แพทย์จะทำการรักษาด้วยการครอบฟัน ซึ่งจะเป็นการใช้วัสดุที่สีเหมือนกับฟันครอบทับฟันที่เสียหายเหมือนใส่หมวกครอบลงไป
- รักษารากฟัน: ในกรณที่ฟันแตกจนไปถึงรากฟัน แพทย์จะต้องทำการรักษาร่วมกับการครอบฟัน เพื่อเอาเนื้อฟันที่อักเสบและติดเชื้อออก แล้วจึงใช้ครอบฟันเพื่อป้องกันฟันส่วนที่เหลือให้สามารถใช้งานได้ต่อไป
- การถอนฟัน: ในกรณีที่ไม่สามรถบูรณะและช่วยฟันที่เสียหายไว้ได้ การถอนฟันจะเป็นทางเลือกสุดท้าย โดยอาจมีการฝังรากเทียมหรือใช้ฟันปลอมร่วมด้วย เพื่อให้สามารถใช้งานในการบดเคี้ยวต่อไปได้ รวมไปถึงป้องกันฟันล้มที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
จากที่ได้อธิบายไป ฟันแตก หากปล่อยไว้ อาจกลายเป็นปัญหาในช่องปากที่ใหญ่ขึ้นได้ หรือ อาจจะเกิดมาจากปัญหาที่มองไม่เห็น ดังนั้นแล้ว จึงควรรีบทำการรักษา เพื่อแก้ไขแต่เนิ่น ก่อนที่จะสายเกินไป
ควรไปพบทันตแพทย์เป็นประจำตามกำหนด หรือทุก ๆ 6 เดือน นัดตรวจฟันกับคุณหมอใจดี ที่นี่
คำถามถามที่พบบ่อย
Q : ฟันแตกอันตรายไหม ?
A : “มีโอกาสอันตรายได้หากปล่อยไว้นาน” เพราะฟันแตกในช่วงแรก ๆ จะยังไม่ได้มีความเสียหายที่กระทบไปจนถึงเนื้อฟันและรากฟัน
Q : ฟันแตกแบบไหนควรพบทันตแพทย์ ?
A : แตกเป็นรู/แตกครึ่ง/แตกแนวดิ่งจากราก
Q : ฟันแตกรักษาได้ไหม ?
A : สามารถรักษาได้หากไม่ได้ปล่อยไว้นานเกินไป หรือปล่อยไว้จนปวด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของทันตแพทย์
Q : ฟันแตกรักษาอย่างไร ?
A : ขึ้นอยู่กับลักษณะและการแตกของฟัน ทันตแพทย์จะเลือกวิธีรักษาที่เหมาะสม เช่น การอุดฟัน การแปะวีเนียร์ การรักษารากฟัน การทำครอบฟันเป็นต้น